วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติกรมธนารักษ์



ประวัติความเป็นมาของกรมธนารักษ์

กรมธนารักษ์ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2476 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยรวมกรมที่มีหน้าที่สำคัญ ๆ ไว้ถึง 4 กรม ด้วยกันคือ
1.กรมกษาปณ์สิทธิการ
2.กรมพระคลังมหาสมบัติ
3.กรมเงินตรา
4.กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2476 ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อว่ากรมพระคลัง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมคลัง เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานและกรมในกระทรวงการคลัง
พ.ศ. 2495 จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากกรมคลัง เป็น
"กรมธนารักษ์" เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2495 ตราบจนถึงปัจจุบันสำหรับกรมต่าง ๆ ที่มารวมกันเป็นกรมธนารักษ์นั้น
ต่างมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้



กรมกษาปณ์สิทธิการ
กำเนิดขึ้นเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องจาก
ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งโรงกษาปณ์ทำเหรียญแบนขึ้นตามลักษณะสากลนิยมใช้แทนเงินพดด้วง จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะทูตไทยที่ส่งไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ จัดซื้อเครื่องทำเงินมาถวาย และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยได้ติดตั้งเครื่องจักรเสร็จเรียบร้อยเมื่อต้นปี พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปณ์สิทธิการ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมกระษาปณ์" และเป็น "กองกษาปณ์" และเป็น "สำนักกษาปณ์" ในปัจจุบัน
กรมพระคลังมหาสมบัติ
เดิมมีชื่อเรียกว่า "กรมเก็บ" ขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นพระคลังแผ่นดินสำหรับรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งปวงในกรุงเทพมหานคร
และเป็นต้นเรื่องรับส่งเงินแผ่นดินถึงพระคลังในหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อจากกรมเก็บเป็นกรมพระคลังมหาสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2455
กรมเงินตรา
กำเนิดขึ้นโดยประกาศพระราชบัญญัติธนบัตร พ.ศ. 2445 โดยรัฐออกเงินกระดาษรูปตั๋วสัญญาใช้เงินตามกฎหมายเรียกว่า "ธนบัตร" โดยสัญญาจะจ่ายเงิน
ให้แก่ผู้นำตั๋วมายื่นทันที เจ้าพนักงานผู้ออกธนบัตรและผู้รับจ่ายเงินขึ้นธนบัตรให้เรียกว่า "กรมธนบัตร"ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 กรมธนบัตร ได้โอนไป
ขึ้นกับกรมตำรวจและกรมสารบัญชี ซึ่งภายหลังได้ชื่อใหม่ว่ากรมบัญชีกลาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2471 จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "กรมธนบัตร" เป็น
"กรมเงินตรา"เมื่อมีพระราชกฤษฎีการจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2476 แล้ว กรมเงินตราได้ลดฐานะลงเป็น กองเงินตรา สังกัดกรมพระคลัง โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ต่อมาเมื่อได้จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2485 กิจการเกี่ยวกับธนบัตรจึงเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยหน้าที่ของกองเงินตราไปอยู่กับฝ่ายออกบัตรธนาคาร กรมเงินตราจึงพ้นไปจากกรมธนารักษ์

กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา
สำหรับกรมสุดท้ายที่ได้ถูกยุบรวมมาอยู่ในสังกัดกรมพระคลังคือ "กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา" มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของบรมวงศ์ และดูแลที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศแต่ประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ซึ่งเรียกว่า "ที่กัลปนา" อีกด้วย แต่ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแล จากการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ได้มีการโอนสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มาสังกัด กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 ในปัจจุบันกรมธนารักษ์มีภารกิจหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านที่ราชพัสดุ ด้านเหรียญกษาปณ์และบริหารเงินตรา ด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน และด้านการประเมินราคาทรัพย์สินสถานที่ทำการแห่งแรกของกรมธนารักษ์ตั้งอยู่บริเวณถนนเขื่อนขันฑ์นิเวศในพระบรมมหาราชวังจวบจนกระทั่งในปี 2503 จึงย้ายที่ทำการจากพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพ 10400 และในปี 2535 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ในบริเวณกระทรวงการคลัง ถ.พระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
นอกจากนี้ยังมีที่ทำการของหน่วยงานในสังกัดกรมธนารักษ์ (ไม่รวมสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ซึ่งตั้งอยู่ทุกจังหวัด 75 จังหวัด) มีที่ทำการอยู่ภายนอกกรม ดังนี้
สำนักกษาปณ์ 13/1 หมู่ 2 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 สำนักบริหารเงินตราถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 สำนักประเมินราคาทรัพย์สินอาคารบางกอกน้อย ถนนจรัลสนิทวงศ์ แขวงบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารตลิ่งชัน ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10



สำนักกษาปณ์

ผลิตภัณฑ์เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในปัจจุบัน

เปิดบริการการสั่งจอง/แลกซื้อเหรียญฯ และผลิตภัณฑ์เหรียญฯ

ในระบบ e – Catalog แล้ว


กรมธนารักษ์เปิดให้บริการรับสั่งจอง/แลกซื้อเหรียญกษาปณ์และผลิตภัณฑ์เหรียญในระบบ e-Catalog บน Web site ของกรมธนารักษ์แล้ว มีให้บริการเป็น 2 ร้านย่อย คือ

1.บริการจอง/จ่ายแลกเหรียญ (ดรอพ ดาวน์แรก) เป็นบริการรับจอง จ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ตามราคาหน้าเหรียญ หรือราคาตั้งต้นที่กำหนดในกฎกรวงการออกใช้เหรียญกษาปณ์ (เช่น เหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 20 บาทประเภทขัดเงา ก็จะมีราคาจำหน่าย 200 บาท หรือเหรียญกษาปณ์เงินชนิดราคา 600 บาท ประเภทขัดเงา ราคาจำหน่ายก็จะเป็น 1,200 บาท เป็นต้น) ซึ่งเป็นบริการในการดูแล ของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักบริหารเงินตรา(บต.) ซึ่งการให้บริการทางเวบนี้ ขณะนี้ สามารถสั่งจอง/ขอแลกซื้อทางเวบได้ตามรายการที่ปรากฏในเวบ การชำระเงินและรับเหรียญฯในชั้นนี้เป็นดังนี้วิธีการชำระเงินและขอรับเหรียญ : ชำระเป็นเงินสด ที่ส่วนรับแลกจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ สำนักบริหารเงินตรา ณ อาคารสำนักบริหารเงินตรา ถนนจักรพงษ์ (อยู่ติดกับหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า) แถวบางลำพู ใกล้วัดชนะสงคราม เท่านั้น โดยพิมพ์รายการสั่งจอง/ขอแลกซื้อ ไปด้วย ในวันและเวลาราชการตาม ที่กำหนดในรายการสั่งจอง/แลกซื้อเหรียญ มิได้เปิดบริการจ่ายเหรียญในวันหยุดราชการ) กรณีมีปัญหา ขัดข้องไม่สะดวกรับเหรียญตามวันที่นัดหมาย โปรดประสานไปที่ หน่วยจ่ายแลกเหรียญฯ อาคารสำนักบริหารเงินตราถนนจักรพงษ์ ทร.0-2282-4109 และ 0-22811-1295 หากมีปัญหา ข้อเสนอแนะ กับบริการโปรด โทรติดต่อได้ที่ ผอ.ส่วนจัดการ เงินคงคลัง 0-2282-4090
2.บริการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหรียญ (ดรอพ ดาวน์ที่สอง) เป็นบริการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหรียญกษาปณ์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องอื่น ๆ นับแต่ชุดเหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ เหรียญประจำจังหวัด กล่อง ตลับและสมุดใส่เหรียญ หนังสือเหรียญ ฯลฯ เป็นบริการในการดูแลของหน่วยงานที่ชื่อสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง(หรือตามที่เรียกกันว่าอยู่ที่วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ถนนหน้าพระลาน ขั้นตอนการสั่งซื้อมีบริการใน Web แล้วซึ่งสามารถติดต่อขอรับผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อได้ทั้งในวันเวลาราชการและในวันหยุดราชการได้ มีบริการส่งทางไปรษณีย์ด้วย สนใจรายละเอียดและช่องทางให้บริการอื่น ๆ สามารถสอบถามได้ที่ ส่วนจัดการผลิตภัณฑ์ สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โทร. 0-2226-0251-9 ต่อ 3102 , 3106
หวังว่าจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาดำเนินการสั่งจอง/แลกซื้อเหรียญ ผลิตภัณฑ์เหรียญทางเวบนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านทดลองเข้าใช้บริการแล้ว ติดตามผลได้จากคอร์ลัมภ์"พูดคุยประสาคนรักเหรียญ" ที่กลุ่ม" คนรักเหรียญ"


เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เฉลิมพระชนมพรรษา 75 พรรษา
12 สิงหาคม 2550






เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 120 ปี

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน





เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 130 ปี

การตรวจเงินแผ่นดินไทย




เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี

แห่งวันพระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก









เหรียญที่ระลึกเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 75 พรรษา รัชกาลที่ 9

(เครื่องทรงฤดูฝน)



เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมใหญ่

สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ

ครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร





















































































































































3 ความคิดเห็น:

wallraluk กล่าวว่า...

ดิฉีนมีความคิดว่าถ้าเราได้มีการปรัณีประนอมกันจะทำให้ธุรกิจของประเทศเจริญก้าวเป็นอย่างยิ่งค่ะ

wallraluk กล่าวว่า...

กระผมได้ดูบทความของท่านแล้วมีความคิดว่าถ้าเรามีความสามัคคีกันมากกว่านี้ก็คงจะดีน่ะครับ

wallraluk กล่าวว่า...

ดิฉันอยากบอกว่าเว็บของท่านมีสิ่งที่ให้ความสนใจในเรื่องของเศรษฐกิจ