วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550

สาระน่ารู้กับดอกไม้ไทย


ดอกไม้ไทย
ดอกไม้กับมนุษย์มีความเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอด สำหรับคนไทยดอกไม้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่มาก
ทั้งด้านศาสนา พิธีการต่างๆ เพื่อการสักการะบูชาสิ่งที่ตนเคารพ รวมทั้งการนำดอกไม้มาประดับตกแต่งภายในบ้าน สร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ สบายใจ ความสดชื่น และความประทับใจต่อผู้มาเยือน รวมทั้งมีการนำดอกไม้ไปผสานกับวรรณกรรมต่างๆ จนขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการชมพฤกษา การเปรียบเปรยตัวละครเอกด้วยชื่อดอกไม้ที่น่าทนุทะนอม ประเทศไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์อันเหมาะในการเพาะปลูก ส่งผลให้มีพันธุ์ดอกไม้ต่างๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตามคนไทยในปัจจุบันนับว่าห่างจากธรรมชาติมาขึ้น เด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักชื่อ หรือพันธุ์ดอกไม้ที่เปรียบเสมือนวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย เนื้อหาในส่วนนี้ ขอนำเสนอดอกไม้ไทย ที่ควรค่าต่อการศึกษากับทุกคนตลอดไป
ดอกไม้ไทย - เอื้องผึ้ง
เอื้องผึ้งเป็นกล้วยไม้ในตระกูลหวาย มีดอกเป็นช่อโค้งยาวสีเหลืองทอง โดยจะออกรอบก้านช่อประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ชอบยึดเกาะคาคบไม้ในที่โล่งและชื้น ช่อดอกที่ร้อยเรียงบนแกนกลาง และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ บ่งบอกถึงความมั่งมีทางทรัพย์สิน ที่จะทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดไป



ดอกไม้ไทย - เขี้ยวกระจง
เขี้ยวกระจง หรือชื่อท้องถิ่นว่า คัดเค้าหนู, ลิเถื่อน มีช่อดอกสีขาวออกเป็นช่อกระจุกที่ปลาย หรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง โดยจะส่งกลิ่นตอนช่วงเย็น และหอมแรงมากขึ้นในช่วงกลางคืน ด้วยความที่เติบโตช้า เขี้ยวกระจงจึงเป็นเครื่องหมายแสดงความอดทน และทนทานของทั้งตัวต้นไม้และเจ้าของผู้ปลูกเลี้ยง



ดอกไม้ไทย - เดหลี
เดหลี ลำต้นฝังเป็นเหง้าอยู่ในดิน ก่อนจะแตกขึ้นมาเป็นกอด้านบน มีดอกเป็นจานสีขาวเพียงอันเดียวและมีแกนเกสรตั้งอยู่ตรงกลางเรียกว่า ปลี ชอบที่ร่มเงาหรือมีแสงน้อย จุดเด่นตรงดอกเดี่ยวซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัว สามารถสะท้อนถึงตัวเจ้าของที่มีความเด็ดขาด ซ่อนอยู่เบื้องหล้งภาพแห่งความนุ่มนวลได้อย่างชัดเจน




ดอกไม้ไทย - บัวหลวง
บัวหลวง เป็นไม้น้ำ มีเหง้าฝังตัวอยู่ในโคลนเลนหรือใต้ดิน ส่วนดอกนั้นมีสีขาวหรือสีชมพูชูขี้นเหนือน้ำ
เป็นดอกไม้ในทางพุทธศาสนา ที่สะท้อนถึงคติธรรมเกี่ยวกับการจำแนกมนุษย์ ตามความรู้แจ้งเห็นจริง


ดอกไม้ไทย - บานบุรีหอม
บานบุรีหอม (บานบุรีแสด) เป็นไม้เถา ส่วนเปลือกมีสีเทา จุดเด่นคงอยู่ตรงดอกสีเหลืองอมแสด ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้า ความสะพรั่งของดอกที่มี 4-9 ดอกในแต่ละช่อ แถมยังบานไม้พร้อมกัน สื่อความหมายถึงการทำงานอย่างมีแบบแผน ถึงจะไปถึงความสำเร็จ




ดอกไม้ไทย - นมดำเรีย (โฮยา)
นมดำเรีย (โฮยา) เป็นไม้เถาอิงอาศัยขนาดเล็ก ช่อดอกสีขาว กลีบดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โดยโคนจะมีสีม่วงแดง ให้กลิ่นหอมเย็นและบานอยู่ได้หลายวัน ด้วยความเจริญเติมโตอย่างว่องไว แถมแต่ละช่อยังประกอบด้วยดอกเล็กๆ มากมาย จึงกล่ายเป็นพันธุ์ไม้ดอกที่เสริมอำนาจวาสนา และให้บริวารยำเกรง


ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งทางสังคม และเศรษฐกิจ เนื่องจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เกิดขึ้นจากความรอบรู้ ประสบการณ์ แนวคิดที่สังคม หรือชุมชนได้ถ่ายทอด สืบสานต่อกันมา ด้วยคนไทยแต่โบราณ มีภูมิปัญญาฉลาดล้ำลึก ในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ เพื่อใช้ประโยชน์ จากสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสุขกาย สบายใจ โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านปัจจัยพื้นฐาน แห่งการดำรงชีพ ประกอบด้วยความสามารถ ในการแสวงหาอาหาร การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย การคิดค้นประดิษฐ์สิ่งทอ เพื่อการนุ่งห่ม และความรู้ในการบำบัดรักษา โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งช่วยให้สังคมไทย นับแต่อดีตดำรงอยู่ได้อย่างสุขสงบ สืบถึงปัจจุบัน
ภูมิปัญญาเหล่านี้เสริมสร้างคุณลักษณะแก่สังคมไทย ให้รู้จักการผ่อนสั้น ผ่อนยาว ผ่อนหนักให้เป็นเบา ผ่อนร้ายให้กลายเป็นดี มีความมัธยัสถ์อดออม จนเกิดเป็นความมั่นคงในทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ แบบพึ่งพาตนเอง ได้ในลักษณะแบบพอมีพอกิน สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ เพื่อการพัฒนาประเทศ ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมไปจนถึงมี ระบบการจัดการด้านทรัพยากรดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ แหล่งน้ำอย่างทรงประสิทธิภาพ

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
พื้นความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดกันมา และนำมาปรับใช้รวมกับความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่น
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการทำมาหากิน
ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น การทำนา ทำสวน ทำไร่ จับสัตว์น้ำ ทอผ้า ค้าขาย
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการรักษาโรค
ภูมิปัญญาที่ใช้ในการดูแลรักษา และแก้ปัญหาสุขภาพ เช่น การใช้สมุนไพรเป็นยาและอาหาร พืชสมุนไพร หมอพื้นบ้าน และการแพทย์แผนโบราณ
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการกินอยู่
ภูมิปัญญาที่ใช้ในการถนอมอาหาร การปรุงอาหาร การกินอาหาร
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศิลปกรรม
ภูมิปัญญาที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และนาฏกรรม
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านภาษาและวรรณกรรม
ภูมิปัญญาที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ด้านภาษาและสำนวนไทย เช่น คำผญา คำสอน ความเชื่อ ปริศนาคำทาย และ บทเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงแหล่ เพลงกล่อมเด็ก เพลงฉ่อย กลอนลำ เพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี
ภูมิปัญญาที่ใช้ในการปรับประยุกต์พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความมั่นคงของชุมชน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ฯลฯ
ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ เช่น การสร้างเขื่อน เหมือง ฝาย การควบคุมคุณภาพน้ำ การป้องกัน น้ำท่วม การจัดการป่าไม้ เช่น การปลูกสวนป่า และการอนุรักษ์ป่า

ประเทศไทย
ประเทศไทยมีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ กระบวยตักน้ำ ช่อดอกไม้ หรือม้าน้ำ แต่นักการทหารมองว่าเหมือน "หัวช้าง" โดยส่วนหัวช้าง คือ ภาคเหนือ ส่วนงวง คือ ภาคใต้ ส่วนที่เป็นปาก ได้แก่ บริเวณอ่าวไทย ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และชายฝั่ง ตะวันออก ส่วนหูช้าง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้วยลักษณะรูปร่างดังกล่าว จัดว่ามีข้อด้อยอยู่หลายประการ เช่น รูปร่างที่ยาวเรียวลงไปทางใต้ ทำให้เสียเวลาในการเดิน ทาง และค่าใช้จ่ายในการสร้างเส้นทางคมนาคม รวมถึงการดูแลรักษาประเทศ เช่น การป้องกันชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียด ทั้งสองด้าน นอกจากนี้รูปร่างที่ยื่นออกไปหรือถูกขนาบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีปัญหาบริเวณชายแดนอยู่ตลอดเวลา เช่น มีการอพยพโยกย้ายถิ่นเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ปัญหาก่อการร้ายและยาเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ต้องระมัด ระวังเป็นพิเศษ
ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่ อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ประกอบด้วย อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา บรูไน สิงคโปร์) รองจาก อินโดนีเซียและพม่า ใหญ่กว่าลาวประมาณ 2 เท่า ใหญ่กว่ากัมพูชาประมาณ 3 เท่า และมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศ ฝรั่งเศส หรือมลรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ 513,115.020 ตารางกิโลเมตร หรือ 320,696,887.500 ไร่ หรือประมาณ 198,953 ตารางไมล์
(*ข้อมูลพื้นที่จากอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 6 ภาคผนวก พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2529)
การที่ประเทศไทยมีขนาดใหญ่ มีข้อดีในเรื่องของประเภทและปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ความลึกของพื้นที่ทำให้ได ้เปรียบในด้านการป้องกันประเทศ การมีประชากรจำนวนมาก มีผลดีในเรื่องของการใช้แรงงานและความคิด ส่วนความ แตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ส่งผลให้มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น
ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ พรมแดนด้านพม่า (เมียนมาร์) ยาว 2,202 กิโลเมตร พรมแดนด้านลาว 1,750 กิโลเมตร พรมแดนด้านกัมพูชายาว 798 กิโลเมตร พรมแดนด้านมาเลเซีย 576 กิโลเมตร โดยที่แนวพรมแดนส่วนใหญ่ยึดเอาแนวสันปันน้ำของภูเขา ทางน้ำหรือลำน้ำบริเวณแนวกลางของร่องน้ำที่ไหล แรงที่สุด เรียกว่า ร่องน้ำลึก ยกเว้นพรมแดนในแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสให้ถือเอาเกาะแก่งเป็นของลาวทั้งหมด แม้ว่าจะอยู่ ใกล้ฝั่งไทย (ยกเว้น 8 เกาะ)
แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหภาพพม่า หรือเมียนมาร์ ความยาว 2,202 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำ รวก แม่น้ำสาย ทิวเขาแดนลาว แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี และแม่น้ำกระบุรี (ปากจั่น) อยู่ในเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
แนวพรมแดนระหว่างไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความยาว 1,750 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึก ของแม่น้ำโขงตอนบน แม่น้ำเหืองงา แม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขงตอนล่าง และทอดไปตามสันปันน้ำในทิวเขาหลวงพระบาง ทางตอนเหนือ และสันปันน้ำในทิวเขาภูแดนลาวทางตอนใต้ อยู่ในเขต จ.เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี
แนวพรมแดนระหว่างไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร นับจากอ่าวไทยทอดไปตามทิวเขา บรรทัด แม่น้ำไพลิน (หรือห้วยเขมร) คลองลึก คลองด่าน คลองน้ำใส ที่ราบแนวเส้นตรงคลองปากอ้าว (ปากอ่าว) และทิว เขาพนมดงรัก ในเขต จ.ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหพันธรัฐมาเลเซีย ความยาว 576 กิโลเมตร ทอดไปตามสันปันน้ำของทิวเขาสันกาลาคีรี ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโก-ลก ในเขต จ.สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส แนวพรมแดนแสดงความเป็นอธิปไตยเหนือพื้นที่ บริเวณนั้น แนวพรมแดนทางธรรมชาติ เหมาะสำหรับกีดขวาง ช่วยในการป้องกันข้าศึกรุกราน แต่ขัดขวางด้านการ คมนาคม ติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างมิตรประเทศ ในปัจจุบันนี้แนวพรมแดนจัดว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศ เพราะเปิดตลาดทำการค้าขายกันหลายแห่งกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะมีจุดชมวิวที่ สวยงามด้วย บางแห่งมีประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยทั่วไปเป็นจุดที่อยู่ตรงช่องเขาหรือมีแม่น้ำกั้น
ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมของไทยประกอบด้วย เทือกเขา ป่าไม้ เนินเขา ที่ราบสูง ที่ราบหุบเขา ที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ ใหญ่หลายสาย ทะเล ชายหาด และเกาะแก่งต่าง ๆ






ไม่มีความคิดเห็น: